Recent Posts
Science Experiences Management For Early Childhood
Teacher Jrintana Suksamran
19 September 2014
Time 13.00 pm. to 16.00 pm.
19 September 2014
Time 13.00 pm. to 16.00 pm.
กิจกรรมที่ 1
ความรู้ที่ได้รับ(The Knowledge gained)
ประดิษฐ์สื่อการสอนวิทยาศาสตร์จากอุปกรณ์ที่อยู่รอบตัวเด็กๆ
อุปกรณ์
1. paper
2. Scissors
3. paper clip
How Do
1.เตรียมกระดาษ(paper) 1 แผ่น ขนาด 3*4
2.แบ่งกระดาษทางยาวเป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน
3.เลือกระดาษมา 1 แผ่น เเล้วพับครึ่ง
4.กำหนดให้เเถว 1-2 ตัดกระดาษให้ไปถึงปลายด้านใดด้านด้านหนึ่ง และแถวที่ 3-5 ให้ตัดส่วนใดส่วน 1
ใน 4
5.พับปลายกระดาษ(paper)ด้านที่ไม่ตัดขึ้นมา 1 เซนติเมตร ที่พับไว้
6.เอาลวดหนีบกระดาษ(paper clip) มาหนีด้านปลายกระดาษ
กิจกรรมที่ 2
บทความ
เพื่อนๆนำเสนอบทความ
ดอกอัญชันทดสอบกรด-ด่าง
เรื่องวิทยาศาสตร์และการทดลอง
ชื่อบทความ ดอกอัญชันทดสอบกรด-ด่าง
สารเคมีต่างๆที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ของกินของใช้ประจำบ้านเรา
เช่น ผงซักฟอก สบู่ก้อน น้ำยาล้างจาน น้ำส้มสายชู บางอย่างก็มี
ความเป็นกรด(รสเปรี้ยว) บางอย่างเป็นด่าง(รสฝาด) เราสามารถทดสอบกรด-ด่างได้อย่างปลอดภัยไม่ต้องชิมรส ..ก็ของบางอย่าง
กินไม่ได้นี่นา เริ่มการทดลองกันเลย
ความเป็นกรด(รสเปรี้ยว) บางอย่างเป็นด่าง(รสฝาด) เราสามารถทดสอบกรด-ด่างได้อย่างปลอดภัยไม่ต้องชิมรส ..ก็ของบางอย่าง
กินไม่ได้นี่นา เริ่มการทดลองกันเลย
สิ่งที่ต้องใช้
1.
ดอกอัญชัน(สีน้ำเงิน) 15 ดอก
2. นำร้อน
3. ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ เช่น สบู่ก้อนต้ดเป็นชิ้นเล็กๆ น้ำมะนาว ผงซักฟอก น้ำส้มสายชู น้ำยา ล้างจาน
2. นำร้อน
3. ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ เช่น สบู่ก้อนต้ดเป็นชิ้นเล็กๆ น้ำมะนาว ผงซักฟอก น้ำส้มสายชู น้ำยา ล้างจาน
วิธีทดลอง
·
นำดอกอัญชันมาแช่ในน้ำร้อนสักครู่
จะสังเกตว่ามีสีน้ำเงินละลายออกมาจากกลีบดอกทิ้งไว้จนกลีบดอกซีดจึงตักขึ้น
·
นำน้ำสีน้ำเงินที่ได้แบ่งใส่แก้วใสตามจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ
และอย่าลืมเหลือสีเดิมไว้เปรียบเทียบด้วยนะ
·
ติดป้ายชื่อผลิตภัณฑ์
บนแก้วแต่ละใบเพื่อจะได้ไม่สับสนตอนบันทึกผลการทดลอง
·
เติมสารเคมีที่ต้องการทดสอบ 1 ช้อนชา ลงไปในแก้วแต่ละใบ
แล้วคนให้เข้ากัน
เพราะอะไรกันนะ
น้ำสีน้ำเงินของดอกอัญชัน สามารถเป็นอินดิเคเตอร์
วัดความเป็นกรด-ด่างได้ โดยสารที่เป็นกรดจะทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดง
สารที่เป็นด่างจะทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีเขียว
สารที่เป็นด่างจะทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีเขียว
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ชื่อบทความ วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้เเต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
แหล่งข้อมูล
วิทยาศาสตร์หมายถึงการสืบค้นและอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ
สภาพแวดล้อมและร่างกายมนุษย์ หรือวิทยาศาสตร์หมายถึง
ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติ
โดยได้จากการศึกษาค้นคว้าอย่างมีขั้นตอนและมีระเบียบแบบแผน ความรู้ของข้อมูลต่างๆ
ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีหลักฐานและข้อมูลเพิ่มเติมขึ้นจากการค้นพบใหม่ที่เป็นปัจจุบันและที่ดีกว่าคือ
ตัวอย่างและข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่สามารถทดสอบได้ มีขอบเขต
มีระเบียบกฎเกณฑ์ มีการสังเกตการจดบันทึกการตั้งสมมติฐาน และอื่นๆ
วิทยาศาสตร์มีขอบข่ายการศึกษาค่อนข้างกว้างขวาง แต่โดยสรุปแล้วก็คือ
การศึกษาธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา
ซึ่งอาศัยกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่มีขั้นตอนเป็นระเบียบแบบแผนตั้งแต่สมัยโบราณ
มนุษย์พยายามเรียนรู้ทำความเข้าใจและอธิบายธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา
อันได้แก่ พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง และปรากฏการณ์ต่างๆ จนนำไปสู่การกำหนดหลักการ
กฎเกณฑ์ และทฤษฏี อันเป็นรากฐานของการศึกษาค้นคว้าแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
เช่น ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้ศึกษาธรรมชาติและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต
แล้วสรุปเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์
ได้ศึกษาความธรรมชาติและความสัมพันธ์ของสสารกับพลังงาน จนได้มาเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ
เป็นต้น
สอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching Children About Weather)
ชื่อบทความ สอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching Children About Weather)
การสอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching Children about weather) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ถึงส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น ก๊าซที่มีอยู่มากและจำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง อากาศมีอยู่ในบ้านและบริเวณ มีอยู่ในโรงเรียน บริเวณรอบโรง เรียน กลางป่า เขา ชายทะเล แม่น้ำ น้ำตก สวน และอื่นๆ
เด็กปฐมวัยเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย เด็กมักจะมีคำถามอยู่เสมอ ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น เรารู้ได้อย่างไร เมื่อเด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้น ทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน ลมพัดได้เร็วเพียงใด คำถามที่น่าสนใจของเด็ก จึงควรนำมาจัดเป็นกิจ กรรมเรียนรู้สำหรับเด็ก เรื่องอากาศ เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็ก และเมื่อเด็กได้รับการตอบสนองให้สืบค้นหาคำตอบ เด็กจะรู้สึกสบายใจที่ได้รับการตอบสนอง จึงเป็นการพัฒนาการทางอารมณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็กอีกด้วย
ฝึกทักษะสังเกต....นำลูกการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชื่อเรื่อง ฝึกทักษะสังเกต....นำลูกการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ทักษะการสังเกตเป็นหนึ่งในทักษะขั้นพื้นฐานและจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์
การสังเกต (Observation)
หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน
ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
เพื่อต้องการรู้รายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ ที่จะนำมาซึ่งการเรียนรู้ที่มากขึ้นและเด็กจะเก็บเป็นข้อมูลหรือประสบการณ์ต่อไป
จึงพูดได้อีกอย่างว่าสำหรับสำหรับเด็กๆ
แล้วการสังเกตจะเกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้านั่นเอง และจากประสบการณ์ที่ได้รับจะทำให้การสังเกตของเด็กพัฒนาขึ้น
การสังเกตสามารถกลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่มีคุณค่าในที่สุด
ส่งเสริมทักษะการสังเกตผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า
ฝึกสังเกตด้วย จมูก
ฝึกสังเกตด้วย ลิ้น
ฝึกสังเกตด้วย ผิวหนัง
ฝึกสังเกตด้วย ตา
ฝึกสังเกตด้วย หู
แผนการสอน
ฝึกสังเกตด้วย ผิวหนัง
ฝึกสังเกตด้วย ตา
ฝึกสังเกตด้วย หู
กิจกรรมที่ 3
อาจารย์ตรวจเเผนการสอนของนักศึกษาในแต่ละกลุ่ม โดยอาจารย์ให้คำเเนะนำกับนักศึกษาให้ไปเเก้แผนการสอนของเเต่ละกลุ่มควรจะต้องเพิ่มเติมอะไรบ้าง ในการเขียนแผนการสอนจะต้องคำนึงถึงการจัดการเรียนการสอนที่อยู่ในเเบบอุปนัยหรือนิรนัย ในการเขียนแผนจะต้องคำนึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
การนำไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำการประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนที่ง่ายๆไปลงมือปฏิบัติกับเด็กได้จริง เพราะอุปกรณ์การทำสื่อการเรียนการสอนที่หาได้ง่ายๆ เพราะอยู่สิ่งของต่างๆอยู่รอบๆตัวเด็ก
-การเรียนการสอนครั้งนี้ทำให้ดิฉัน สามารถนำแผนการสอนไปบูราณาการในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้จริง
เทคนิคการสอน
อาจารย์มีเทคนิคในการประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนที่ง่ายไม่ซับซ้อน และมีเทคนิคในการนำกิจกรรมเข้าสู่บทเรียน อาจารย์อธิบายแผนการเรียนการสอนของเพื่อนโดยมีหน่วยดังนี้ หน่วยปลา
หน่วยไก่ หน่วยกบ หน่วยกล้วย หน่วยส้ม หน่วยผีเสื้อ หน่วยแปรงสีฟัน หน่วยดอกมะลิ หน่วยกะหลำ่ปลี
การประเมิน(Evaluation)
อาจารย์:อาจารย์มีความพร้อมในการเรียนการสอนที่ดี อาจารย์เตรียมอุปกรณ์ในการประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอน อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับเเผนการสอนให้นักศึกษาเข้าใจง่ายๆ เเละบอกวิธีการแก้ไขการเขียนแผนให้กับนักศึกษานำไปใช้ได้ในชีวิตประจำได้จริง
ตนเอง:ดิฉันเข้าตั้งใจห้องเรียนตรงต่อเวลา เเละตั้งประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอน พร้อมจดบันทึกเนื้อหาสาระที่อาจารย์บอกเพิมเติ่ม
เพื่อน:เพื่อนๆตั้งใจทำสื่อการเรียนการสอน เเละเพื่อนบ้างคนมีการจดบันทึกการเรียนการสอนที่อาจารย์บอกเนื้อหาสาระสอนที่เพิมเติ่ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น