Recent Posts
Science Experiences Management For Early Childhood
Teacher Jrintana Suksamran
3 October 2014
Time 13.00 pm. to 16.00 pm.
3 October 2014
Time 13.00 pm. to 16.00 pm.
ความรู้ที่ได้รับ(The knowledge gained)
ได้ความรู้เพิมเติ่มมากมายจากการนำเสนอบทความของเพื่อนๆ และได้รับความรู้การประดิษฐ์สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ของเด็กที่สมารถนำสิ่งที่เหลือใช้มาทำสื่อการสอนให้เด็กปฐมวัยได้และช่วยส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักเเนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
กิจกรรมที่ 1
ประดิษฐ์(invention)สื่อการเรียนวิทยาศาสตร์(Science)
อุปกรณ์(Equipment)
1.paper 2.แกนกระดาษทิชชู 3.Magic 4.rope 5.Glue 6.Hole 7.Scissors 8.pencill
วิธีทำ(How Do)
1. เตรียมกระดาษทิชชู
2. แบ่งกระดาษทิชชูทางขวางออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน
3.เลือกเเกนกระดาษทิชชูมา 1 แกน แล้วที่เจาะรูตรงกลางทั้ง 2 ด้าน ดังภาพ
4.นำเชือกมาตัดขนาด 1 วา
5.นำเชือกมาสอดเข้ารูทั้ง 2 ด้าน สอดสลับขึ้นลง ดังภาพ
6. เเล้วผูกปมที่ปลายเชือก
7.นำกระดาษ ( paper ) มาตัดขนาด 3*4
8.นำเเกนกระดาษทิชชูมาวางไว้ตรงกลางกระดาษ แล้ววาดวงกลมรอบวงนอกของเเกนกระดาษทิชชู
9.วาดรูปตามใจชอบบริ้เวณตรงกลาง
10.ตัดตามรองที่ขีดเส้นออก
11.แล้วนำรูปที่ตัดออกมาทากาวแล้วแปะลงไปที่ด้านใดด้านหนึ่่งของเเกนกระดาษทิชชูจะได้ผลงานกระดาษทิชชู ดังภาพ
กิจกรรมที่ 2
เพื่อนๆนำเสนอบทความ
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
ชื่อบทความ การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
ผู้เขียน วณิชชา สิทธิพล
สอนลูกเรื่องเเสงและเงา
ชื่อบทความ สอนลูกเรื่องแสงเเละเงา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปุบผา เรืองรอง
การสอนลูกเรื่องแสงและเงา
(Teaching Children
about Light and Shadow) หมายถึง
การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแสง
ซึ่งเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สิ่งมีชีวิตรับรู้ได้ด้วยตา
เป็นเหตุให้มองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราได้และเงา ซึ่งหมายถึง
รูปร่างของวัตถุที่แสงผ่านทะลุไม่ได้ ทำให้แลเห็นเป็นเงาตามรูปร่างของวัตถุนั้น
เด็กจะได้เรียนรู้ถึงแหล่งกำเนิดแสง
หรือสิ่งที่ปล่อยแสงออกมา ได้แก่
ดวงอาทิตย์
ที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด
สัตว์และพืชบางชนิดมีแสง
การเผาไหม้ของวัตถุบางชนิด
เช่น พืช แก๊ส เทียนไข น้ำมัน ฯลฯ ทำให้เกิดแสง
แสงบางชนิดมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น
เช่น แสงไฟฟ้า ไฟฉาย กล้องถ่ายรูป ฯลฯ
แสงจากดวงอาทิตย์
ดวงจันทร์ ดวงดาว แสงจากพืชและสัตว์บางชนิด และแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆที่คนเราทำขึ้น
เช่น จากการจุดไฟ เปิดไฟฟ้า เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกและจักรวาล
และเป็นประโยชน์ที่ทำให้คนเราดำรงชีวิตอยู่ได้ เพราะมีแสงสว่างช่วยให้คนเรามองเห็น
และแสงทำให้เกิดเงา ร่มเงาก็เป็นประโยชน์สำหรับสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย
ได้อาศัยคลายร้อน ในขณะเดียวกัน หากไม่รู้ถึงโทษของสิ่งเหลานี้
ก็จะทำให้เกิดอันตรายจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น
การที่เด็กๆเพ่งมองดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงแรงจ้า ก็จะเป็นอันตรายแก่สายตา
หรือการที่ปล่อยให้แสงแดดแผดเผาผิวกาย ก็เป็นอันตรายต่อผิวหนังคือ
เกิดแผลไหม้เกรียม แสงอาจเกิดจากการเผาไหม้ของวัตถุเช่น เทียน แก๊ส น้ำมัน พืช
แสงเหล่านี้อาจเกิดการเผาไหม้เองตามธรรมชาติ และเกิดจากมนุษย์ทำให้เกิด
เมื่อเกิดแล้ว จะทำให้มลภาวะเป็นพิษในโลกนี้ ดังนั้น
ธรรมชาติเรื่องแสงและเงาเป็นเรื่องใกล้ตัว อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา
จึงควรได้จัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย
สอนลูกเรื่องเเรงโน้มถ่วง
ชื่อบทความ สอนลูกเรื่องเเรงโน้มถ่วง
ผู้ช่วยศาสราจารย์ ปุบผา เรืองรอง
การสอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง (Teaching Children about Gravity) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแรงที่โลกกระทำต่อวัตถุทุกชิ้น ดึงวัตถุในทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก ทำให้วัตถุยึดติดกับพื้นโลก มิให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนผิวโลกหรือบรรยากาศของโลกหลุดลอยไปในอากาศได้ ทั้งนี้ เด็กปฐมวัยมีนิสัยสงสัยใคร่รู้เป็นโดธรรมชาติ การที่เด็กมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว และเกิดเรื่องราวให้ชวนคิด ชวนให้สงสัยมีมากมาย รวมทั้งคำถามว่า “อะไรที่ทำให้เรายืนอยู่บนพื้นโลกได้โดยไม่ปลิวหายไปในอากาศ” และ “มีใครบ้างที่อยู่ใต้พื้นโลก เขาหล่นหายไปหรือไม่” คำถามของเด็กมีคำ ตอบ แต่หากผู้ใหญ่บอกเล่าเพียงให้เด็กทราบว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลกมีแรงโน้มถ่วง การบอกเช่นนั้นไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะเด็กบอกไม่เห็นแรงโน้มถ่วง แต่หากเด็กได้มีโอกาสตรวจสอบเรื่องนี้จากกิจกรรมง่ายๆ ที่ครูหรือพ่อแม่จัดให้เด็กได้กระทำ จนเกิดเป็นความเข้าใจในเหตุและเห็นผลสอดคล้องกัน จะเป็นการส่งเสริมความคิด ทัศนคติที่ดีและเกิดทักษะที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ต่อๆไปอีกให้แก่เด็ก การจัดกิจกรรมการเรียนให้เด็กเรื่องแรงโน้มถ่วงจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กปฐมวัยควรเรียนรู้
สอนลูกเรื่องไฟฉาย
ชื่อบทความ สอนลูกเรื่องไฟฉาย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปุบผา เรืองรอง
การสอนลูกเรื่องไฟฉาย(Teaching Children about Flashlight) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เครื่องทำความสว่างประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญคือ จานฉายรูปโค้งสำหรับสะท้อนแสงและหลอดไฟฟ้า ซึ่งบรรจุอยู่ในเรือนกรอบกับสิ่งให้พลังงานที่ก่อให้เกิดแสงสว่าง และหลอดไฟซึ่งบรรจุอยู่ในกรอบกับสิ่งให้พลังงานก่อให้เกิดแสงสว่าง มีหลายชนิด ชนิดที่ถือติดตัวไปมาได้มักทำในรูปกระบอก ทั้งนี้เพราะการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นเรื่องจำเป็นในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เจริญเติบโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพ กล่าวคือเป็นผู้ที่พัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและสติปัญญาได้อย่างเหมาะสมตามวัย ในยุคปัจจุบันสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาการด้านเทคโนโลยี มีผลให้เกิดมีเครื่องใช้ที่จำเป็นและอำนวยความสะดวกสบายให้คนเรา ดังนั้น การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และวิธีใช้เครื่องเทคโนโลยีบางชนิดให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องจำเป็น ดังเช่น ไฟฉาย ที่คนเราสร้างสรรค์ขึ้น มา เป็นเครื่องใช้ที่ให้แสงสว่างซึ่งเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการนำเรื่องไฟฉายมาจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสูตร
การนำไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำเอาการประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนไปประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริงๆโดยสามารถหาอุปกรณ์ที่อยู่รอบๆตัวเด็กมาประดิษฐ์เป็นของเล่นวิทยาศาสตร์ได้
-การนำเสนอบทความของเพื่อนสามารถนำไปบูรณานาการการเรียนการสอนในการจัดการเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
เทคนิคการสอน
อาจารย์มีเทคนิคการสอนการประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในวิธีที่ง่ายๆ โดยอาจารย์จะให้นักศึกษาลองประดิษฐ์ผลงานของตนเอง โดยที่อาจารย์จะไม่บังคับให้กับนักศึกษาเเต่อาจารย์จะบอกขั้นตอนการประดิษฐ์ให้กับนักศึกษาทำตามขั้นตอนที่อาจารย์บอกเเต่อาจารย์ให้นักศึกษาไปคิดว่า สื่อการเรียนชนิดนนี้มีเเนวคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร
การประเมิน(Evaluation)
อาจารย์:อาจารย์มีความพร้อมในการเรียนการสอน อาจารย์เตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาทำกิจกรรมในการเรียนการสอน อาจารย์ถามนักศึกษาที่นำเสนอบทความเเละอาจารย์ถามเพื่อนๆว่ามีความรู้ความเข้าใจกับบทความของเพื่อนที่นำเสนอไปไหม
ตนเอง:ตั้งใจทำกิจกรรมประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์แต่ผลงานออกมาไม่ค่อยดีเท่าไรคะ เพื่อนนำเสนอบทความตั้งใจฟังเพื่อนๆ
เพื่อน:เพื่อนๆตั้งใจทำสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ และเพื่อนๆบางคนมีการจดบันทึกเวลาเพื่อนนำเสนอบทความและตอบคำถามเวลาอาจารย์ถามด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น