Science Experiences Management For Early Childhood
5 September 2014
Time 13.00 pm. to 16.00 pm.
การสังเกตและการใช้คำถาม
*วิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่อยู่รอบๆๆตัวเรา คนเรามักจะมีความสัมพันธ์กับวิทยาสตร์เพราะมันเป็นสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรา สามารถมาวิเคราะห์ด้วยตนเอง วิทยาศาสตร์ผ่านชีวิภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวิภาพ ฟิสิกท์ *
knowledge
*พัฒนาการ เป็นการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
*การจัดการเรียนรู้ จะเริ่มตั้งเเต่เด็กเเรก-3 ปี
ทำไมต้องมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง เพราะมีต่อขั้นตอนต่อไปในลำดับขั้นพัฒนาการ
การอบรมเลี้ยงดูมีผลต่อพัฒนาการ
ลักษณะพัฒนาการ มีทั้งหมด 4 ด้าน ได้เเก่
ด้านร่างกาย -กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เกิดจากาการทำงานของประสาททั้ง 5
กล้ามเนื้อมัดเล็ก ใช้นิ้วมือกับตาใช้ในการเขียนหนังสือด้านอาร์มณ์-จิตใจ - ความรู้สึก
การกล้าเเสดงออก / การรับรู้ความสุขของคนอื่น
ด้านสังคม - การอยู่ร่วมกันกับคนอื่น/ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
ด้านสติปัญญา - ความคิด / ภาษา
ความคิด คิดเชิงเหตุผล เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ จะสัมพันธ์กับสมอง
"สมอง" ทำงานในการเกิดการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น การที่เด็กเล่นซุกซน
ความรู้ใหม่ + ความรู้เดิม = เกิดการเรียนรู้
"การเรียนรู้" คือ การแสดงออกที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
"การรับรู้" การที่เขารับเข้ามาในตัวเขา
"พัฒนาการ" ตั้งเเต่เเรกเกิด-2 ปี โดยผ่านพฤติกรรมประสาทสัมผัสทั้ง 5 เรียกว่า ขั้นประสาทสัมผัสซึมซับ อายุ 4 -6 ปี ก็ยังใช้อยู่เเต่ตัวที่มันเด่นๆคือ การสื่อภาษา จะุเริ่มใช้ในช่วงอายุ 4-6 ปี เป็นช่วงซึมซับ
"การเรียนรู้" เพื่อให้เด็กเกิดการรับรู้เพื่อจะให้เกิดการปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรม สามารถอยู่บนโลกใบนี้ได้ไปนานๆ
พัฒนาการเป็นตัวบ่งชี้บอกถึงพฤติกรรม ว่าเด็กทำอะไรได้บ้างในช่วงอายุนั้น
คุณษณะตามวัย (พัฒนาการ) มันเป็นตัวเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
1.พัฒนาการ
2.คุณลักษณะตามวัย
3.ธรรมชาติ
"การเรียนรู้" คือ การเปลี่ยนเเปลงพฤติกรรม
"วิธีการเรียนรู้" การลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทั้งเป็นทางการเเละไม่เป็นทางการ
"เครื่องมือ"ประสาทสัมผัสทั้ง 5 มือ หู ตา จมูก ปาก
พัฒนาการที่แตกต่างกัน สิ่งเเวดล้อม การอบรมเลี้ยงดู เพศ
วิทยาศาสตร์ ชีวิภาพ+กายภาพ = การทดลอง การตอกไข่ สาระทีได้ คือ ทักษะการวิทยาศาสตร์ การทดลอง การคาดเน การสังเกตผ่านความร้อนของการนำไข่ไปทอด
*พัฒนาการ เป็นการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
*การจัดการเรียนรู้ จะเริ่มตั้งเเต่เด็กเเรก-3 ปี
ทำไมต้องมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง เพราะมีต่อขั้นตอนต่อไปในลำดับขั้นพัฒนาการ
การอบรมเลี้ยงดูมีผลต่อพัฒนาการ
ลักษณะพัฒนาการ มีทั้งหมด 4 ด้าน ได้เเก่
ด้านร่างกาย -กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เกิดจากาการทำงานของประสาททั้ง 5
กล้ามเนื้อมัดเล็ก ใช้นิ้วมือกับตาใช้ในการเขียนหนังสือด้านอาร์มณ์-จิตใจ - ความรู้สึก
การกล้าเเสดงออก / การรับรู้ความสุขของคนอื่น
ด้านสังคม - การอยู่ร่วมกันกับคนอื่น/ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
ด้านสติปัญญา - ความคิด / ภาษา
ความคิด คิดเชิงเหตุผล เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ จะสัมพันธ์กับสมอง
"สมอง" ทำงานในการเกิดการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น การที่เด็กเล่นซุกซน
ความรู้ใหม่ + ความรู้เดิม = เกิดการเรียนรู้
"การเรียนรู้" คือ การแสดงออกที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
"การรับรู้" การที่เขารับเข้ามาในตัวเขา
"การเรียนรู้" เพื่อให้เด็กเกิดการรับรู้เพื่อจะให้เกิดการปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรม สามารถอยู่บนโลกใบนี้ได้ไปนานๆ
พัฒนาการเป็นตัวบ่งชี้บอกถึงพฤติกรรม ว่าเด็กทำอะไรได้บ้างในช่วงอายุนั้น
คุณษณะตามวัย (พัฒนาการ) มันเป็นตัวเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
1.พัฒนาการ
2.คุณลักษณะตามวัย
3.ธรรมชาติ
"การเรียนรู้" คือ การเปลี่ยนเเปลงพฤติกรรม
"วิธีการเรียนรู้" การลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทั้งเป็นทางการเเละไม่เป็นทางการ
"เครื่องมือ"ประสาทสัมผัสทั้ง 5 มือ หู ตา จมูก ปาก
พัฒนาการที่แตกต่างกัน สิ่งเเวดล้อม การอบรมเลี้ยงดู เพศ
วิทยาศาสตร์ ชีวิภาพ+กายภาพ = การทดลอง การตอกไข่ สาระทีได้ คือ ทักษะการวิทยาศาสตร์ การทดลอง การคาดเน การสังเกตผ่านความร้อนของการนำไข่ไปทอด
การสังเกตและการใช้คำถาม
*วิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่อยู่รอบๆๆตัวเรา คนเรามักจะมีความสัมพันธ์กับวิทยาสตร์เพราะมันเป็นสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรา สามารถมาวิเคราะห์ด้วยตนเอง วิทยาศาสตร์ผ่านชีวิภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวิภาพ ฟิสิกท์ *
บทความ
1.นางสาวนฤมล เส้งเซ่ง เลขที่ 1
การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดย มิสวัลลภา ขุมหิรัญ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง
ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนใจของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์
เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์
รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ
ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย
พื้นฐานของมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544
โดยมีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้
เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์คือ
1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ
การสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถาม และการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบ
2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่างๆด้วยตนเอง
อย่างเสรีและตามแยยที่กำหนดให้
3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ
4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย
5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์
บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
1.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัว
เด็กจะได้รับการส่งเสริมและตอบสนองต่อคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างการสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว
2.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4
ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและใช้อุปกรณ์สำรวจอย่างง่าย
ซึ่งเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก
ด้านอารมณ์และจิตใจ การจัดกิจกรรมสำรวจและทดลอง
เด็กได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง รู้จักใช้เหตุผล กล้าตัดสินใจ ได้แสดงผลงานและความสามารถจากการสำรวจด้านสังคม
เด็กได้ฝึกการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจกรรม รู้จักทำงานร่วมกับเพื่อน
รู้จักการให้และการรับ ฝึกการปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อตกลงร่วมกัน
และเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมรอบตัวและช่วยกันดูและรักษา ด้านสติปัญญา
เด็กได้พัฒนาความสามารถในการถามคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ การค้นหาคำตอบด้วยวิธีการต่างที่เหมาะสมกับวัย
3.การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ในการออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ตลอดจนคิดวิธีการแก้ปัญหาต่างๆตามวัยและศักยภาพผ่านทางการเล่นทางวิทยาศาสตร์
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้
1.สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
2.สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม
3.ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ
ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ
4.ส่งเสริมกระบวนการคิด
5.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
6.ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
7.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ
Preschool Workshops
นอกจากกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กในระดับประถมศึกษา
แล้ว Mad Science ยังจัดกิจกรรมซึ่งมีความหลากหลายสำหรับเด็ก
ในระดับอนุบาล ( อายุ 3 – 5 ปี ) ทุกๆกิจกรรม จะแฝงด้วยความ
สนุกสนานและสาระโดยจัดเป็นกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน
ในเวลาเรียนปกติครั้งละประมาณ 30 นาที เพื่อเสริมทักษะ
ด้านการสังเกตและทักษะอื่นๆทางด้านวิทยาศาสตร์ให้เด็ก
ได้ร่วมคิดและปฏิบัติ ทั้งนี้ Mad Science จะเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์์และผู้สอนทั้งหมดตัวอย่างกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล
ADVENTURES IN AIR เรียนรู้เกี่ยวกับอากาศ
ที่อยู่รอบๆตัวเรา อากาศสามารถทำให้สิ่งของเคลื่อนที่ อากาศต้องการที่อยู่และอากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น
ANIMAL FRIENDS สนุกกับการทายเสียง
สัตว์ชนิดต่างๆ รูปลักษณะของสัตว์ที่เปลี่ยนไป เมื่อมันเจริญเติบโต เรียนรู้สิ่งที่ห่อหุ้มร่างกาย
ของสัตว์แต่ละชนิด
COLOR LAB เรียนรู้เกี่ยวกับสีต่างๆของรุ้ง การผสมของแม่สี เด็กๆจะสนุกกับการผสมสี
ด้วยตนเองโดยใช้ Gel ชนิดพิเศษเพื่อนำกลับบ้าน
EYE TO EYE เรียนรู้ความสำคัญของดวงตา และสนุกกับส่วนประกอบต่างๆของตาจาก
แบบจำลอง ดวงตาเรียนรู้ว่าเราสามารถเห็นภาพที่มี ขนาดใหญ่ขึ้นได้โดยการ
มองผ่าน “ แว่นขยาย ”
KEEP IN TOUCH เรียนรู้เกี่ยวกับประสาทสัมผัส ให้เด็กๆทราบว่าของบางอย่างเป็น
อันตรายได้ถ้าเราสัมผัส และบางส่วนของร่างกายมีประสาทที่ไวต่อการสัมผัสมากกว่าส่วนอื่น
LISTEN CLOSELY ให้เด็กๆทราบว่าเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือน และเดินทางผ่านอากาศ
ในรูปของคลื่น สนุกกับการทำเสียงด้วยอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในภาพยนต์
LIGHTS ON เรียนรู้ว่าแสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ แสงสามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อส่องผ่าน
กระดาษสีต่างๆ ตื่นตากับการดูสีรุ้งของแสงด้วยแว่นตาสายรุ้ง
SPACE FRONTIERS สนุกกับการสร้างแบบจำลองของดาวเคราะห์ทั้งเก้าดวงในระบบ
สุริยะจักรวาล เล่นสนุกกับการเก็บหินจำลองบนดวงจันทร์ด้วยมือจับ
WATER WORKS เรียนรู้เรื่องการลอย การจมของวัตถุต่างๆ ศึกษาว่าวัตถุใดดูดซึมน้ำ
ได้ดีกว่ากัน สนุกกับการทดลองแรงตึงผิวของน้ำด้วยน้ำสบู่ น้ำตาลและพริกไทย
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆสำหรับ เด็กอนุบาลเช่น
MAGNETIC ATTRACTION, SCIENCE OF
MUSIC, WEATHER WONDERS,
WORLD OF WORMS, BUTTERFLIES,
LET’S MEASURE, TASTE & SMELL,
SHAPES & STRUCTURES, MAD MIXTURES,
HUMAN BODY เป็นต้น
กิจกรรมต่างๆของ Mad Science
• กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในเวลาเรียนปกติ (In School Workshops)
• กิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกเวลาเรียนปกติหรือวันหยุด (After School Programs)
• กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล (Preschool Workshops)
• กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับกลุ่มเด็กที่สนใจเป็นพิเศษ (Special Interest Group)
• ค่ายวิทยาศาสตร์ช่วงปิดภาคเรียน (Summer Camp)
• ค่ายวิทยาศาสตร์เด็กอนุบาล (Preschool Summer Camp)
• ค่ายวิทยาศาสตร์แสนสนุก (One Day Camp)
• โชว์วิทยาศาสตร์ ( Mad Science Show)
• กิจกรรมฐานวิทยาศาสตร์ (Hand on Stations)
• กิจกรรมวิทยาศาสตร์งานวันเกิด (Birthday Party)
ผู้เขียน: อาจารย์ นิติธร ปิลวาสน์ ศึกษานิเทศก์ สอนลูกเรื่องพืช (Plants)
พืช อยู่ในสาระที่ควรรู้เกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 การจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องพืช นอกจากเด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับชนิดของพืชต่างๆแล้วยังสามารถจัดกิจกรรมโดยใช้พืชเป็นสื่อเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็กปฐมวัยได้พัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางด้านต่างๆ ผ่านการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมในระดับปฐมวัย
การสอนเรื่องพืชมีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยอย่างไร
ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย การจัดกิจกรรมให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายเป็นต้นไม้ที่ถูกลมพัดโอนเอน ทำให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายทางด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ เช่น แขน ขา ลำตัว และการทรงตัว เป็นต้น กิจกรรมสร้างสรรค์ที่เด็กนำเมล็ดพืชมาปะติดลงในกระดาษ ทำให้เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อเล็กในด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือกับตา หรือการทำรถลากจากไม้ แล้วให้เล่นแข่งรถกัน การวิ่งผลัดส่งดอกไม้ ทำให้เด็กได้วิ่งออกกำลังกาย
ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ จิตใจ ทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายทางด้านอารมณ์และความรู้สึกด้วยการร้อยดอกไม้ การให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายตามจินตนาการกับดอกไม้ ทำให้เด็กสนุกสนาน และส่งเสริมการจินตนาการด้านการเคลื่อนไหว
ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสังคม การเรียนรู้เรื่องผักด้วยการได้ประกอบอาหารร่วมกันกับเพื่อน ทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม บทบาทหน้าที่ของตนเอง ความรับผิดชอบต่อกลุ่ม การอดทนรอคอย และความมีวินัย ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมทางสังคมที่ดี และยังส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านต่างๆ
ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดกิจกรรมให้เด็กทดลองปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ เด็กจะได้พัฒนาทักษะพื้น ฐานทางด้านคณิตศาสตร์ จากการวัดส่วนสูงของพืชที่ปลูกเป็นรายสัปดาห์ การนับจำนวนดอกไม้ การคาดคะเน และเรื่องของเวลาที่ใช้การปลูก ส่วนทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์เด็กจะได้เรียนรู้จากการสังเกตการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของพืช การจำแนกสีของดอกไม้
4.
ดร. วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า "เราคงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"
การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของเด็ก ๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริง ๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"
นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้
1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือโลกของเรา
2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์ หรือในด้านของเหตุและผล
4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ
5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น